ปวดท้องตรงไหน? บอกโรคอะไรได้บ้าง
1. ปวดหน่วงๆ ที่ท้องน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน
สาเหตุ: PMS (Premenstrual Syndrome)
อาการข้างเคียง: อารมณ์แปรปรวน เจ็บหน้าอก อยากกินของหวาน
อันตรายไหม: ไม่อันตราย แต่บอกว่าฮอร์โมนแปรปรวน ต้องดูแลตัวเองช่วงนี้ให้ดีขึ้น
2. ปวดเฉพาะข้างซ้ายหรือขวา แบบจี๊ดๆ บางครั้ง
สาเหตุ: ไข่ตก (Ovulation Pain) หรืออาจเป็น ถุงน้ำในรังไข่
อาการข้างเคียง: เจ็บจี๊ดเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะกลางรอบเดือน
อันตรายไหม: ถ้าไม่รุนแรง มักเป็นภาวะปกติ แต่ถ้าปวดบ่อย/แรงขึ้นควรพบแพทย์
3. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง มีประจำเดือนไม่ปกติ สิวขึ้นง่าย ขนดกผิดปกติ
สาเหตุ: PCOS (Polycystic Ovary Syndrome)
อาการข้างเคียง: ประจำเดือนมาช้า / มาไม่สม่ำเสมอ น้ำหนักขึ้นง่าย
อันตรายไหม: เป็นภาวะเรื้อรังที่ควรได้รับการดูแล เพราะอาจกระทบต่อการมีบุตรในอนาคต
4. ปวดท้องน้อยมากจนต้องนอนงอ เจ็บทะลุหลัง หรือเจ็บจนเป็นลม
สาเหตุ: อาจเป็น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ ถุงน้ำรังไข่แตก
อาการข้างเคียง: คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม
อันตรายไหม: อันตราย! ควรพบแพทย์ด่วน
5. ปวดท้องน้อยรุนแรงร่วมกับไข้ ตกขาวผิดปกติ
หรือมีกลิ่นแรง สาเหตุ: อาจเป็น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (PID)
อาการข้างเคียงม: ตกขาวข้น มีกลิ่น เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
อันตรายไหม: อันตราย! ต้องรักษาโดยแพทย์ ไม่งั้นอาจลุกลามถึงมดลูกและรังไข่
การปวดท้องแต่ละแบบ…ไม่ใช่เรื่องที่ควรปล่อยผ่าน
เพราะร่างกายเรากำลังส่ง “สัญญาณเล็ก ๆ” ให้เรารู้ทันก่อนที่ทุกอย่างจะสาย
เข้าใจฮอร์โมนให้มากขึ้น รู้ทันร่างกายให้เร็วขึ้น
ร่างกายไม่เคยโกหก อย่าปล่อยให้ฮอร์โมนเล่นงาน
ปวดตรงไหน ต้องรู้ให้ไว ไม่ใช่ปล่อยให้พัง!
บทความที่เกี่ยวข้อง
Her Body
ปวดท้องตรงไหน? บอกโรคอะไรได้บ้าง
มิ.ย.
Her Face
ไอเทมลับที่ผิวต้องการ…โดยเฉพาะช่วง PMS ที่สิวบุก!
มิ.ย.
Her Love
PMS หรือ PMDD? เช็คให้รู้ชัดๆ
พ.ค.