ความผูกพัน 4 รูปแบบ

🪢ความผูกพัน 4 รูปแบบ🪢

เคยสงสัยมั้ยคะว่า ความรักของเราเป็นแบบไหนกัน

⁉️ ทำไมเราติดแฟน หรือ ทำไมแฟนติดเรา

⁉️ ทำไมเราถึงทำอะไรแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งๆ ที่ทำแล้วเราก็รู้สึกแย่กับตัวเอง

⁉️ ทำไมเราถึงเลิกกับผู้ชายเลวๆ ไม่ได้ซักที

⁉️ ทำไมแฟนเย็นชากับเรา | เขาไม่เข้าใจเราเลยว่าเราเจออะไรมาบ้าง | เขาไม่สนใจเราเลย | เราทะเลาะกันบ่อยมาก

John Bowlby นักจิตยาชาวอังกฤษ คันพบว่า พฤติกรรมความคิด และความรู้สึกเหล่านี้ เกิดจากการเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก

หากเราได้รับการเลี้ยงดูที่ก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี เราก็จะเกิดความรู้สึกผูกพันและมีความมั่นคง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี

แต่หากเราไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี หรือถูกละเลย เราอาจจะรู้สึกไม่มั่นใจ มีความวิตกกังวล หรือมีความหวาดกลัว

และความรู้สึกเหล่านี้แหละค่ะ ที่จะติดตัวเราไปจนโต และส่งผลต่อเรา ในเวลาที่เรามีความสัมพันธ์หรือผูกพันกับคนอื่นค่ะ

ซึ่ง John Bowlby นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ได้เรียกทฤษฎีนี้ว่า Attachment Theory หรือ ทฤษฎีความผูกพัน ซึ่งแบ่งออกเป็นความผูกพัน 4 รูปแบบด้วยกัน

ลองมาสำรวจดูค่ะว่า เวลาเรามีความรัก เราเป็นแบบไหน หรือแฟนเราเป็นแบบไหนกันนะ

1) ความผูกพันแบบมั่นคง (Secure) 🥰

เกิดจากการเลี้ยงดูที่ได้รับการตอบสนองที่ดี ได้รับความรักความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ

~ มีความสัมพันธ์ที่ดี
~ สามารถพึ่งพาตัวเองและพึ่งพาคนอื่นได้เท่าๆ กัน
~ มองตัวเองและคนอื่นในแง่ดี
~ สบายใจที่จะพูดคุย เคลียร์ใจ เวลามีปัญหา
~ มีความมั่นใจในตัวเองและเห็นคุณค่าในตัวเองสูง

เวลามีแฟน จะเป็นแฟนที่ดี ซัพพอร์ตแฟน เป็นความรักที่จริงใจ ตรงไปตรงมา รักษาสมดุลย์ได้ดี

2) ความผูกพันแบบวิตกกังวล (Anxious) 😓

เกิดจากการเลี้ยงดูที่ปล่อยปละละเลย ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์เท่าไหร่

~ กลัวการถูกทิ้ง หรือการต้องอยู่คนเดียวมากๆ
~ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า
~ หึงเก่ง หวงเก่ง เรียกร้องเก่ง
~ ขี้กังวล ขี้ระแวง
~ อ่อนไหวต่ออารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น

เวลามีแฟน จะเรียกร้องความสนใจมากหน่อย ไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่ไว้ใจว่าคนรักจะเห็นความดีของเรา ก็เลยยิ่งทุ่มเทให้มากๆ จนลืมตัวเองไป

3) ความผูกพันแบบผลักไส (Dismissive/ Avoidant) 😞

อาจเคยถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก หรือถูกทำร้ายอย่างรุนแรง

~ หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ใกล้ชิด
~ ไม่ต้องการการผูกมัด
~ ผลักไสคนที่เข้ามา
~ ไม่ชอบแสดงความรู้สึก
~ ไม่ชอบพึ่งพาใคร
~ อยู่ตัวคนเดียวได้

เวลามีแฟน จะมีอาการแบบผลักๆ ดึงๆ ประมาณว่าอย่าไปไหนไกล แต่อย่าเข้ามาใกล้มาก ขอ space เยอะหน่อย อาจจะดูเหมือนไม่ค่อยทุ่มเทเท่าไหร่

4) ความผูกพันแบบสับสนหรือหวาดกลัว (Disorganized/Fearful) 😐

เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ทำให้เกิดความสับสนในชีวิต

~ สับสนในความสัมพันธ์
~ ไว้ใจและเชื่อใจคนอื่นยากมาก
~ มองโลกในแง่ลบ
~ กลัวการถูกปฏิเสธ
~ ไม่เห็นคุณค่าในตัวเองเท่าไหร่
~ มีพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้

คนกลุ่มนี้ จะไม่ค่อยมีแฟน หรือมีเพื่อนเท่าไหร่ เพราะทั้งหวาดกลัวและวิตกกังวลรวมกัน ทำให้ไม่ชอบปฏิสัมพันธ์กับใคร

🤍🤍🤍

คนเราเกิดมาแตกต่างกัน การเลี้ยงดูก็แตกต่างกัน อย่างที่โบราณว่า คนเรามาจากร้อยพ่อพันแม่ จะเหมือนกันได้อย่างไร

แต่ถึงแม้เราจะมาจากต่างที่กัน ความรักจะทำให้เรายอมรับและเข้าใจความแตกต่างนี้

ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ รูปแบบความผูกพันนี้ไม่ใช่สิ่งที่แก้ไขไม่ได้ เราสามารถเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ค่ะ

อ้างอิง : https://www.simplypsychology.org/attachment.html
https://positivepsychology.com/attachment-theory/

#ลดสิวหน้าใส #รักษาสิว #ผิวใส
#เรื่องของเธอ #herstories #เอสโตรเจน #โปรเจสเตอโรน #ฮอร์โมนเพศ #ฮอร์โมนแกว่ง #ประจำเดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง